ขายปลาหมออำเภอชุมแพ

Posted on Posted in ขายปลาหมอขอนแก่น

บ่อปลาผู้ใหญ่รักษ์.com

บ่อปลาผู้ใหญ่รักษ์ จำหน่ายปลาและสัตว์น้ำต่างๆ ปลีก-ส่ง ปลาสดๆ หลากชนิดเจ้าของเลี้ยงเองจากบ่อธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ราคาหน้าบ่อ ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รับประกันคุณภาพ ในราคาถูก รับเป็นตัวแทนจำหน่ายสัตว์ พืชผลและสินค้าต่างๆ ทางการเกษตร เช่น ปลา กบ ปูนา ไก่บ้าน ไข่ไกสด ไข่เป็ดสด พืชผัก ผลไม้

ปลาหมอ | ปลาตะเพียน | กบ | ปลาดุก | สัตว์น้ำต่างๆ

พร้อมส่งตรงถึงบ้าน ลดความเสี่ยงด้วยบริการออนไลน์

TEL : 085-535-6994, 093-535-2176, 0972824524
LINE : @535rfzoa

บ่อปลาผู้ใหญ่รักษ์

จำหน่ายปลาและสัตว์น้ำต่างๆ ปลีก-ส่ง ปลาสดๆ หลากชนิดเจ้าของเลี้ยงเองจากบ่อธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ราคาหน้าบ่อ ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รับประกันคุณภาพ ในราคาถูก รับเป็นตัวแทนจำหน่ายสัตว์ พืชผลและสินค้าต่างๆ ทางการเกษตร เช่น ปลา กบ ปูนา ไก่บ้าน ไข่ไกสด ไข่เป็ดสด พืชผัก ผลไม้

ปลาหมอ | ปลาตะเพียน | กบ | ปลาดุก | สัตว์น้ำต่างๆ
พร้อมส่งตรงถึงบ้าน ลดความเสี่ยงด้วยบริการออนไลน์

TEL : 085-535-6994, 093-535-2176, 0972824524
LINE : @535rfzoa

ชุมแพ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น โดยนับว่าเป็นพื้นที่ 1 ใน 4 อำเภอที่มีเศรษฐกิจเติบโตรองจากตัวเมืองขอนแก่น เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอภูเวียง โดยแยกออกมาตั้งเป็นอำเภอตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2486 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม ปีเดียวกัน

 

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอชุมแพตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่นประมาณ 82 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 520 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอภูผาม่าน อำเภอภูกระดึง (จังหวัดเลย) อำเภอสีชมพู และอำเภอเวียงเก่า
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอภูเวียงและอำเภอหนองเรือ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านแท่น อำเภอภูเขียว และอำเภอคอนสาร (จังหวัดชัยภูมิ)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอคอนสาร (จังหวัดชัยภูมิ) และอำเภอภูผาม่าน

 

ประวัติ

ประมาณปี พ.ศ. 2400 พระครูหงส์ได้ชักชวนญาติพี่น้อง 8 ครอบครัวอพยพออกจากเมืองภูเวียง ครั้งสุดท้ายได้หยุดพักเกวียนที่บ้านกุดจอกน้อย แล้วแบ่งครอบครัวออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กุดแห่น้อย บ้านแห่ ส่วนกลุ่มที่นำโดยพระครูหงส์มีบุตร 3 คน คือ นายโฮม (ต้นตระกูลโฮมหงส์) นายโชค และนายหลอด (ต้นตระกูลหงส์ชุมแพ) ได้เดินทางต่อมาและเลือกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านร้าง มีวัดร้างและกุดแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก วัดร้างนี้มีธาตุและต้นโพธิ์จึงตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์ธาตุ พร้อมกับตั้งชื่อว่าบ้านกุดธาตุ กุดธาตุมีน้ำลึกมาก มีจระเข้ และป่าทึบทำให้จับปลาได้ยาก ประกอบกับรอบ ๆ กุดธาตุมีกอไผ่ขึ้นหนาแน่น ชาวบ้านจึงตัดไม้ไผ่มามัดเป็นแพใช้ยืนหว่านแหแล้วตีวงล้อมเข้าหากัน นานเข้าจึงเรียกว่า “กุดชุมแพ” และ “บ้านชุมแพ”

เดิมสุขาภิบาลชุมแพได้ตราประจำประกอบด้วยสัญญาลักษณ์เป็นเจดีย์ใบโพธิ์ และคลื่นฟองน้ำอยู่ภายในวงกลม ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลชุมแพขึ้นอีก เปลี่ยนตราประจำสำนักงานเทศบาลตามที่กรมศิลปากรออกแบบให้ตราใหม่มีสัญลักษณ์เป็นวงกลม มีรูปเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีประทับอยู่บนแพ มือขวาถือลูกธนู มือซ้ายถือคันธนู มีนายทหารคนสนิท 2 นาย นั่งถือธงปลายหอกอยู่คนละข้าง (ประกาศเทศบาลตำบลชุมแพ วันที่ 23 มีนาคม 2530) สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดทัพไปปราบฮ่อ ในเมืองพวน เมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกดังนี้ 1. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นแม่ทัพฝ่ายใต้ยกกองทัพขึ้นไปทางเมืองหนองคาย 2. เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี) เป็นแม่ทัพฝ่ายเหนือยกกองทัพขึ้นไปทางหลวงพระบาง โดยให้ยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 2428 (ยงศิลป และโขมพัตร เรืองศุข 2540 : 180) จากประวัติการยกทัพครั้งนี้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้ยกกองทัพขึ้นไปทางเมืองพิชัย เมืองน่าน เมืองหลวงพระบาง เมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ตลอดจนถึงเมืองสิบสองจุไทย แสดงว่าไม่ได้ยกกองทัพผ่านบ้านชุมแพเลย บ้านชุมแพตั้งอยู่บนทำเลที่อุดมสมบูรณ์ จงมีผู้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น ๆ แบ่งได้เป็น 2 คุ้มอู่ระหว่าง 3 วัด ได้แก่ วัดเหนือ (ปัจจุบันเป็นที่ทำการประปา) วัดกลาง (วัดโพธิ์ธาตุ) และวัดใต้ (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนบ้านชุมแพ) ปีพุทธศักราช 2543 ในระหว่างที่ท้าวอุปชิต มิตตะปิด เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ได้เกิดเพลิงไหม้กอไผ่ริมหนองอีเลิงด้านใต้แล้วลุกลามไหม้บ้านนายคาน หงส์ชุมแพจนถึงด้านทิศเหนือ ชาวบ้านไม่มีที่อยู่อาศัย จึงอพยพไปอยู่ตามที่นาของตนเอง ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่บ้านหนองไผ (บ้านหนองไผ่ใต้) และบ้านโคกไม้งามในปัจจุบัน

ประมาณปี พ.ศ. 2470 เริ่มมีครอบครัวชาวจีนอพยพเข้ามาค้าขายในบริเวณถนนราษฎร์บำรุง ทิศเหนือของวัดโพธิ์ธาตุ การค้าได้ขยายตัวมากขึ้น ปี พ.ศ. 2485 กำนันเลี้ยง ดีบุญมี ได้บริจาคที่ดินเพื่อตัดถนนราษฎร์บำรุงให้ยาวขึ้นไปทางทิศเหนือ สร้างศูนย์ราชการและโรงเรียนชุมแพ นอกจากนี้ยังได้สร้างบ้านเรือนแถวไม้ชั้นเดียวบริเวณตลาดเหนือและตลาดใต้ให้เช่าทำการค้า ต่อมา กำนันจาก 4 ตำบลของอำเภอภูเวียง ได้แก่ ตำบลชุมแพ ตำบลโนนหัน ตำบลขัวเรียง และตำบลสีสุก (ศรีสุข) ได้ร่วมมือกันยื่นคำร้องต่อกระทรวงมหาดไทยขอตั้งอำเภอชุมแพ พระยาสุนทรพิพิธ (ปลัดกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น) ได้มาตรวจที่ ประกอบกับระยะนั้นอำเภอชนบทถูกไฟไหม้ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2486 กระทรวงมหาดไทยจึงอนุมัติให้ตั้ง อำเภอชุมแพ โดยยุบอำเภอชนบทไปเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านไผ่

 

การเสนอการจัดตั้งจังหวัดชุมแพ

ประชาชนในพื้นทียื่นคำขอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดภูเวียง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อแยก อำเภอภูเวียง (ปัจจุบันแยกเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภอภูเวียง และอำเภอเวียงเก่า) อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองเรือ อำเภอภูผาม่าน และอำเภอหนองนาคำ รวมกันขึ้นเป็น จังหวัดภูเวียง โดยมีผู้เข้าชื่อเสนอร่างจำนวนประมาณ 70,000 คน ซึ่งเกินจำนวน 5 หมื่นคน ตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ แต่ปัจจุบันยังไม่ได้รับการพิจารณา

ก่อนหน้านี้ มึความพยายามผลักดันให้มีการก่อตั้งจังหวัดชุมแพ แต่เมื่อถึงขั้นตอนลงประชามติ พบว่ามีผู้ลงชื่อไม่ถึงจำนวน 5 หมื่นคน ทำให้ พรบ.จัดตั้งจังหวัดชุมแพตกไป ในเวลาต่อมาจึงได้มีความพยายามผลักดันให้อำเภอภูเวียงเป็นศูนย์กลางของจังหวัดใหม่อีกครั้ง

ในปี พ.ศ. 2555 นายสุชาย ศรีสุรพล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. … ต่อสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง โดยมีสาระสำคัญในการยกฐานเป็นจังหวัดชุมแพ ประกอบด้วย อำเภอชุมแพ อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภอสีชมพู อำเภอหนองนาคำ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

 

อำเภอชุมแพแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 12 ตำบล 148 หมู่บ้าน ได้แก่

ตำบลชุมแพ
ตำบลโนนหัน
ตำบลหนองเขียด
ตำบลโนนสะอาด
ตำบลขัวเรียง
ตำบลหนองไผ่
ตำบลไชยสอ
ตำบลวังหินลาด
ตำบลนาเพียง
ตำบลนาหนองทุ่ม
ตำบลหนองเสาเล้า
ตำบลโนนอุดม