ขายกบหนองบัวลำภู

Posted on Posted in ขายกบหนองบัวลำภู

บ่อปลาผู้ใหญ่รักษ์.com

บ่อปลาผู้ใหญ่รักษ์ จำหน่ายปลาและสัตว์น้ำต่างๆ ปลีก-ส่ง ปลาสดๆ หลากชนิดเจ้าของเลี้ยงเองจากบ่อธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ราคาหน้าบ่อ ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รับประกันคุณภาพ ในราคาถูก รับเป็นตัวแทนจำหน่ายสัตว์ พืชผลและสินค้าต่างๆ ทางการเกษตร เช่น ปลา กบ ปูนา ไก่บ้าน ไข่ไกสด ไข่เป็ดสด พืชผัก ผลไม้

ปลาหมอ | ปลาตะเพียน | กบ | ปลาดุก | สัตว์น้ำต่างๆ

พร้อมส่งตรงถึงบ้าน ลดความเสี่ยงด้วยบริการออนไลน์

TEL : 085-535-6994, 093-535-2176, 0972824524
LINE : @535rfzoa

บ่อปลาผู้ใหญ่รักษ์

จำหน่ายปลาและสัตว์น้ำต่างๆ ปลีก-ส่ง ปลาสดๆ หลากชนิดเจ้าของเลี้ยงเองจากบ่อธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ราคาหน้าบ่อ ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รับประกันคุณภาพ ในราคาถูก รับเป็นตัวแทนจำหน่ายสัตว์ พืชผลและสินค้าต่างๆ ทางการเกษตร เช่น ปลา กบ ปูนา ไก่บ้าน ไข่ไกสด ไข่เป็ดสด พืชผัก ผลไม้

ปลาหมอ | ปลาตะเพียน | กบ | ปลาดุก | สัตว์น้ำต่างๆ
พร้อมส่งตรงถึงบ้าน ลดความเสี่ยงด้วยบริการออนไลน์

TEL : 085-535-6994, 093-535-2176, 0972824524
LINE : @535rfzoa

หนองบัวลำภู (อักษรไทน้อย: Nongbualamphu thainoi.png, อักษรธรรมอีสาน: อักษรธรรมอีสาน.png) เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ตั้งอยู่ในแอ่งสกลนครและอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพระอริยะสงฆ์อยู่มากอีกจังหวัดหนึ่ง อาทิเช่นหลวงปู่ขาว อนาลโย พร้อมกับจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดสระแก้ว

 

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
  • คำขวัญประจำจังหวัด : ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
  • ตราประจำจังหวัด : ภาพพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับยืนหน้าศาลของพระองค์ ซึ่งตั้งอยู่หน้าหนองบัวลำภู
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นพะยูง (Dalbergia cochinchinensis)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกบัวหลวง (Nymphaea lotus)
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาสร้อยขาวหรือปลาขาวสร้อย (Henicorhynchus siamensis)
ประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ – สมัยทวารวดี – สมัยขอม

จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประว้ติศาสตร์ ดังหลักฐานที่ขุดค้นพบ จากแหล่งโบราณคดีกุดกวางสร้อยกุดค้อเมย[3] ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ กำไลสำริด กำไลหิน แม่พิมพ์ทำจากหินทรายสำหรับใช้หล่อหัวขวานสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดแก้ว เป็นต้น อายุประมาณ 2,500 ปี ซึ่งสถานที่ขุดค้นพบอยู่ที่บ้านกุดกวางสร้อยและบ้านกุดค้อเมย อำเภอโนนสัง บริเวณเชิงเขาภูพานด้านทิศตะวันตกและเชิงเขาภูเก้าด้านทิศตะวันออก ซึ่งแหล่งโบราณคดีสองแห่งนี้มีอายุใกล้เคียงกับวัฒนธรรมบ้านเชียง

ประมาณ พ.ศ. 1100 – พ.ศ. 1500 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูได้ค้นพบวัตถุสมัยทวารวดี เช่น ใบเสมา ที่ภูน้อย วัดพระธาตุเมืองพิณ อำเภอนากลาง และวัดป่าโนนคำวิเวก อำเภอสุวรรรคูหา

ประมาณ พ.ศ. 1500 – พ.ศ. 1700 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูได้รับวัฒนธรรมขอมหรือเขมร พบโบราณสถานหรือโบราณวัตถุที่เป็นศิปละขอมหรือเขมร เช่น ฐานวิหารศิลาแลง ศิลาจารึกวัดพระธาตุเมืองพิณ และอักษารขอมโบราณที่วัดป่าโนนคำวิเวก อำเภอสุวรรณคูหา

 

สมัยสุโขทัย

พ.ศ. 1896 – พ.ศ. 1961 ในสมัยสุโขทัย เป็นสมัยอาณาจักรล้านช้างก่อกำเนิดในภาคอีสาน ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มและพระเจ้าสามแสน[4] พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลและเป็นเขตอาณาจักรล้านช้าง ครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจนไปถึงแอ่งโคราช และกระจายชุมชนเข้ามาสู่แอ่งสกลนครจนไปถึงบริเวณพระธาตุพนม เลยลงไปถึงแดนเขมรจนปัจจุบันเรียกว่า อีสานใต้ (จากพงศาวดารล้านช้าง) พื้นที่ในจังหวัดหนองบัวลำภูจึงได้รับอิทธิพลล้านช้างซึ่งแพร่หลายในขณะนั้นในบริเวณแอ่งสกลนคร และรับศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์ (นิกายเถรวาท) เป็นศาสนาประจำถิ่นตามผู้ปกครองอาณาจักร

 

สมัยอยุธยา

ประมาณ พ.ศ. 2106 พระไชยเชษฐาธิราชกษัตริย์แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (กรุงเวียงจันทน์)[5] ได้นำผู้คนอพยพจากหลวงพระบางและเวียงจันทร์มาอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ในปีพ.ศ. 2106 หลังจากที่สร้างเมืองเวียงจันทร์ในปีพ.ศ. 2103 และก็อยู่ในระหว่างการสร้างพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งภาคอีสานก็อยู่ในเขตอาณาจักรล้านช้าง ดังหลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกและได้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในวัดถ้ำสวรรณคูหา อำเภอสุวรรณคูหา และนำไพร่พลมาบูรณะสร้างบ้านสร้างสาเมืองนครหนองบัวลุ่มภูขึ้นใหม่อีกครั้งที่ริมหนองบัว (หนองซำซ้าง) ซึ่งเป็นเมืองเก่าสมัยขอมเรืองอำนาจ พระไชยเชษฐาธิราชได้สร้างพระพุทธรูป วิหาร และขุดบ่อน้ำในบริเวณวัดศรีคูณเมือง[6] และยกฐานะเป็นเมือง “เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน” มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “หนองบัวลุ่มภู” ซึ้งปัจจุบันเรียกเพี้ยนมาว่าหนองบัวลำภูถือว่าเป็นเมืองเอกล้านช้างตะวันตกของอาณาจักรล้านช้าง

ปี พ.ศ. 2117 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ให้แก่พม่าสมัยพระเจ้าหงสาวดี[ต้องการอ้างอิง] สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชได้ยกกองทัพช่วยพม่ารบกับกรุงเวียงจันทน์ โดยมีสมเด็จพระนเรศวรตามเสด็จพระราชบิดาช่วยรบ เนื่องจากพระไชยเชษฐาธิราชได้หายสาบสูญไปในระหว่างการรบปราบข่า ที่ลาวใต้ เวียงจันทน์เกิดการแย่งชิงราชสมบัติจึงได้ถือโอกาสเข้าตีกรุงเวียงจันทน์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวร นำกองทัพเสด็จประทับแรมที่บริเวณหนองบัว เนื่องจากมีทัศนียภาพที่สวยงามและมีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคในบริเวณนั้น สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงพระประชวรด้วยไข้ทรพิษ พระเจ้าหงสาวดีได้รับข่าวจึงอนุญาตให้สมเด็จพระนเรศวรเดินทางกลับเพื่อรักษาพระองค์

ประมาณปี พ.ศ. 2302 ตรงกับสมัยพระเจ้าเอกทัศน์กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าสุวรรณปางคำปาหลัง(เจ้าปางคำ)พร้อมเสนาบดีจากเมืองเชียงรุ่งและพระวอซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระวรราชภักดีและพระตา มีภูมิลำเนาเดิมที่บ้านหินโงม เป็นเสนาบดีของพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ มาตั้งแต่สมัย พระเจ้าอนุวงษ์ไทธิราช เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ฝ่ายนอกของกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์ มีเรื่องขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสารผู้เป็นโอรส พระวอและพระตาได้อพยพไพร่พลข้ามลำน้ำโขงมาตั้งภูมิลำเนา มาบูรณะสร้างบ้านแปลงเมืองที่ “เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน”ให้เป็นเวียงใหม่เป็นเวียงนครใหญ่ชื่อว่า เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งเป็นเอกราชไม่ขึ้นต่อผู้ใด มีกฏบัญญัติบ้านเมือง มีกษัตริย์ปกครอง มีดินแดนกำแพงคูเมืองล้อมรอบพร้อมประตูเวียง มีแม่น้ำแม่พระเนียงเป็นสายหลัก มีเมืองหน้าด่านของตัวเอง ได้แก่เมืองนาด้วง ภูเวียง ผาขาว พรรณา พร้อมผู้คนและช้างเผือกคู่เวียง

 

สมัยธนบุรี

ปีจุลศักราช 1140 ปีจอ สัมฤทธิศก ตรงกับปี พ.ศ. 2321 ตรงกับต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช[7] พระเจ้าศิริบุญสารแห่งเมืองเวียงจันทน์ยกทัพมาตีพระวอและพระตาที่เมือง “นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน” (ชื่อจังหวัดหนองบัวลำภูในสมัยนั้น) ทำการสู้รบกันที่ช่องน้ำจั่น (น้ำตกเฒ่าโต้) บนภูพานคำใช้เวลาอยู่ประมาณ 3 ปี ฝ่ายเวียงจันทน์ขอกำลังจากพม่ามาช่วยรบ จึงสามารถตีเมืองแตกได้ พระตาถูกข้าศึกฆ่าในสนามรบ ส่วนพระวออพยพหนีไปตามลุ่มแม่น้ำชี ลงไปขอพึ่งบารมีพระเจ้าไชยกุมาร ที่นครจำปาศักดิ์ และได้อนุญาตให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลเวียงดอนกอง (หรือเรียกว่าบ้านดู่บ้านแก) หลังจากนั้นพระวอเกิดผิดใจกับพระเจ้าไชยกุมาร จึงได้อพยพผู้คนขึ้นมาตั้งเมืองอยู่ที่ดอนมดแดง (ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานี) แล้วขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังความในพระราชพงศาวดารกรุงธนบรีว่า

“…ในปีจอนั้น ฝ่ายข้างกรุงศรีสัตนาคนหุต พระวอผู้หนึ่งเป็น อุปฮาด มีความพิโรธขัดเคืองมาตั้งอยู่ ณ หนองบัวลำภู ซ่องสุมผู้คนได้มากจึงสร้างขึ้นเป็นเมืองตั้งค่ายเสาไม้แก่นให้ชื่อเมือง จัมปานครแขวงกาบแก้วบัวบาน แล้วแข็งเมืองต่อพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแต่งกองทัพให้ยกมาตี พระวอก็ต่อรบตีทัพล้านช้างแตกกลับไป แล้วพระวอแต่งให้ขุนนางนำเครื่องราชบรรณาการขึ้นไปเมืองอังวะขอกองทัพพม่าลงมาตีกรุงศรีสัตนาคนหุต พระเจ้าอังวะให้แมงละแงเป็นแม่ทัพถือพลสี่พันยกลงมาจะตีกรุงศรีสัตนาคนหุต ทัพพม่ามาถึงกลางทางพระเจ้าล้านช้างได้ทราบข่าวศึกจึงแต่งท้าวเพี้ยให้นำเครื่อง บรรณาการไปให้แก่แม่ทัพพม่าขอขึ้นแก่กรุงอังวะ ให้กองทัพยกไปตีพระวอณเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นกบฎแก่กรุงศรีสัตนาคนหุต แล้วนำทัพพะม่ามาพักพล ณ เมืองล้านช้าง พระเจ้าล้านช้างแต่งต้อนรับแม่ทัพพม่าแล้วจัดแจงกองทัพเข้าบรรจบทัพพม่า แมงละแงแม่ทัพก็ยกทัพพม่าทัพลาวไปตีเมืองหนองบัวลำภู พระวอ ต่อสู้เหลือกำลังก็ทิ้งเมืองเสียพาครอบครัวอพยพแตกหนีไปตั้งอยู่ตำบลดอนมดแดงเหนือเมืองจัมปาศักดิ์ แล้วแต่งท้าวเพี้ยถือศุภอักษรแลเครื่องบรรณาการมาถึงพระยานครราชสีมา ขอเป็นเมืองขึ้นข้าขอบขัณฑสีมากรุงเทพมหานครศรีอยุธยา เอาพระเดชานุภาพสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเป็นที่พึ่งพำนักสืบไป พระยานครราชสีมาก็บอกส่งทูตแลศุภอักษร เครื่องบรรณาการลงมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานสิ่งของตอบแทนไปแก่พระวอ แล้วโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ณดอนมดแดงนั้น…”

ต่อมาในปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าศิริบุญสารได้ยกกองทัพมารุกรานพระวอ และปราบพระวอได้ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบรีทราบ โปรดสั่งให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพไปมาช่วยพระวอ แล้วยกกองทัพติดตามเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์จนได้ชัยชนะ และได้นำพระแก้วมรกตซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชนำไปจากเมืองเชียงใหม่กลับมาคืนสู่เมืองไทยดังเดิม พระยาจักรีได้รับบำเหน็จความชอบเป็น “เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก” กรุงเวียงจันทน์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยในฐานะเมืองประเทศราช และเมือง “นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน” จึงได้ขึ้นกับราชอาณาจักรไทยตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีระบุว่า

“…ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้ทราบข่าวพระวอยกลงไปตั้งเมืองอยู่ ณ ดอนมดแดง จึงแต่งให้พระยาสุโภเป็นนายทัพยกพลทหารลงมาตีเมืองดอนมดแดง จับตัวพระวอได้ให้ประหารชีวิตเสีย แล้วก็เลิกกองทัพกลับไปเมืองล้านช้าง ฝ่ายท้าวก่ำบุตรพระวอแล้วท้าวเพี้ยทั้งปวงจึงบอกหนังสือมาถึงพระยานครราชสีมาว่ากองทัพเมืองล้านช้างยกมาตีเมืองดอนมดแดงแตกฆ่าพระวอเสีย ข้าพเจ้าทั้งปวงมีกำลังน้อยสู้รบตอบแทนมิได้ จะขอทัพกรุงเทพมหานครยกไปตีเมืองล้านช้างแก้แค้น พระยานครราชสีมาก็บอกลงมายังกรุงธนบุรีกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระพิโรธดำรัสว่า พระวอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาเมืองเรา แลพระยาล้านช้างมิได้ยำเกรงทำอำนาจมาตีบ้านเมืองแลฆ่าพระวอเสียฉะนี้ ควรเราจะยกกองทัพไปตีเมืองล้านช้างให้ยับเยินตอบแทนแก้แค้นให้จงได้ ครั้น ณ เดือนอ้ายปีจอ สัมฤทธิศก จงมีพระราชดำรัสให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพ กับเจ้าพระยาสุรสีห์ แลท้าวพระยามุขมนตรีผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งในกรุงแลหัวเมืองเป็นอันมาก พลทหารสองหมื่นสรรพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธพร้อมเสร็จ ให้ยกกองทัพไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต คือเมืองล้านช้าง…”

 

สมัยรัตนโกสินทร์

ปี พ.ศ. 2369 ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ ยกทัพมาบุกยึดเมืองนครราชสีมา[9] ทางกรุงเทพได้ส่งกองทัพมาปราบ ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยร่นไปตั้งรับอยู่ที่เมือง “หนองบัวลุ่มภู” สู้รบกันเป็นสามารถ และติดตามจับเจ้าอนุวงศ์ได้ที่เมืองเวียงจันทน์ แล้วนำตัวไปพิจารณาโทษที่กรุงเทพ ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหนองบัวลุ่มภู เป็นเมืองชื่อ เมืองกมุทาสัยบุรีรมย์ หรือเมืองกมุทธาสัย ขึ้นกับเมืองหนองคาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวจันทกุมาร (ท้าวพิมพา) บุตรเจ้าราชวงศ์เมืองหนองคาย เป็นเจ้าเมือง รับสัญญาบัตรเป็น พระวิชโยดมกมุทรเขตร ปรากฏตามสำเนาสัญญาบัตร เล่ม 1 การแต่งตั้งขุนนางหัวเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5 ตรงกับวันจันทร์ ขั้น 8 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ จุลศักราช 1239 ตรงกับพุทธศักราช 2417 ความว่า

“…ให้ท้าวจันทกุมาร บุตรราชวงศ์คนเก่า เปนพระวิชโยดมกมุทเขตร ครองเมืองกมุทาสัยบุรีรมย์ ซึ่งแต่ก่อนเปนบ้านหนองบัวลำภู ขึ้นเมืองหนองคาย ได้บังคับบัญชาท้าวเพี้ยกรมการ ตั้งแต่ ณ วัน ๑ ฯ ๘ ค่ำ ปีจอ ฉศก ศักราช ๑๒๓๖ เป็นวันที่ ๒๐๘๒ ในรัชกาลปัจจุบันนี้…”

ช่วงนี้เมืองกมุทธาสัยได้ขึ้นอยู่กับเมืองหนองคาย โดยมีพระยาปทุมเทวาภิบาล ผู้สำเร็จราชการเมืองหนองคายเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชา ต่อมาเมื่อโปรดเกล้าฯ ให้แต่งข้าหลวงใหญ่ล้วนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พระองค์ในปี พ.ศ. 2434 คือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เรียกว่า “ข้าหลวงเมืองลาวกาว” เป็นข้าหลวงประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ. 2436 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ประทับ ณ เมืองอุดรธานี เรียกว่า “ข้าหลวงเมืองลาวพวน” และกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงใหญ่ประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี เรียกว่า “ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว” เมืองกมุทสัยมีฐานะเป็นหนึ่งในหัวเมืองชั้นเอกของมณฑลลาวพวน จนเมื่อปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดรและรวมผังเมืองต่างๆ ในมณลอุดรเป็น 5 บริเวณ ได้แก่ บริเวณบ้านหมากแข้ง บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร บริเวณพาชี บริเวณน้ำเหือง เมืองกมุทธาสัยได้ถูกรวมอยู่ในบริเวณบ้านหมากแข้งประกอบด้วย 7 เมืองคือ เมืองหมากแข้ง หนองคาย หนองหาน กุมภวาปี กมุทาสัย โพนพิสัย และรัตนวาปี[10] ตั้งที่ว่าการอยู่ที่บ้านหมากแข้งปี ขึ้นกับบริเวณบ้านหมากแข้ง ต่อมาในปีพ.ศ. 2449 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จตรวจราชในหัวเมืองอีสาน และมีพระดำริให้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองกมุทธาสัยมาเป็น เมืองหนองบัวลำภูตามเดิม ดังปรากฏในพระนิพนธ์สาส์นสมเด็จซึ่งเป็น พระหัตถเลขาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีโต้ตอบถวาย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ฉบับวันที่12 ธันวาคม 2478 ความว่า “… เมื่อหม่อมฉันได้รับคำชี้แจงที่เมืองอุดรว่าหนองบัวลำภูนั้น คือเมืองกมุทาสัย ซึ่งยกขึ้นเป็นเมืองเมื่อในรัชกาลที่ 4 (ที่ถูกต้อง คือ สมัยรัชกาลที่ 5) หม่อมฉันกลับลงมากรุงเทพฯ ได้มีท้องตราสั่งให้เปลี่ยนชื่อเมืองกมุทาสัย ซึ่งลดลงเป็นอำเภออยู่ในเวลานั้น กลับ เรียกชื่อเดิมว่า อำเภอหนองบัวลำภู ดูเหมือนจะยังใช้อยู่จนบัดนี้…”

พระวิชโยดมกมุทรเขตร (พิมพา) เป็นเจ้าเมืองกมุทาสัยได้ 32 ปี ก็ถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ. 2449 จึงมีท้องตรามหาดไทยให้ท้าวเสือ กรมการเมือง รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองแทน รับสัญญาบัตรเป็นที่ พระวิจารณ์กมุทธกิจ

ในปี พ.ศ. 2450 ได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยรวมเมืองต่าง ๆ ในบริเวณบ้านหมากแข้งตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า “เมืองอุดรธานี” ส่วนเมืองในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ เมืองกมุทาสัยซึ่งเวลานั้นเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองหนองบัวลำภู จึงกลายเป็น อำเภอหนองบัวลำภู โดยมี พระวิจารณ์กมุทธกิจ (เสือ เปรยะโพธิเดชะ) เป็นนายอำเภอคนแรก และมีอำเภอที่เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน โดยจัดตั้งขึ้นตามลำดับ 4 กิ่งอำเภอ คือ 1. กิ่งอำเภอโนนสัง เมื่อปี พ.ศ. 2491 2. กิ่งอำเภอศรีบุญเรือง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 3. กิ่งอำเภอนากลาง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 4. กิ่งอำเภอสุวรรณคูหา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 (ส่วนกิ่งอำเภอนาวังแยกออกมาจากกิ่งอำเภอนากลางอีกต่อหนึ่ง) ปี พ.ศ. 2536 ประกาศจัดตั้งเป็น จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536

 

ที่ตั้ง

จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นจังหวัดหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์ อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศา 45 ลิปดา ถึง 17 องศา 40 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 101 องศา 57 ลิปดา ถึง 102 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 518 กิโลเมตร จังหวัดหนองบัวลำภู มีขนาดพื้นที่ประมาณ 3,859.062 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,411,928.74 ไร่ ขนาดพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 2.27 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือ 106,392,250 ไร่ และคิดเป็นร้อยละ 0.75 ของประเทศ)

 

อาณาเขตติดต่อ
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอน้ำโสม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอบ้านผือ อำเภอกุดจับ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองนาคำ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง อำเภอผาขาว อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย

 

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดหนองบัวลำภู มีพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง บางส่วนเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลาดตื้นถึงลาดลึก แล้วลาดลงไปทางทิศใต้ และทิศตะวันออก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร ทางตอนบนของจังหวัดจะเป็นพื้นที่ภูเขาสูง โดยยอดดอยหรือภูเขาที่สูงที่สุดของจังหวัด ได้แก่ ดอยผาเวียง ภูสามยอดโดยสูงเฉลี่ย 900 เมตร และเป็นต้นน้ำสายย้อยต่างๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายและลูกรังไม่สามารถเก็บกักน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง

 

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะอากาศในจังหวัดหนองบัวลำภู แบ่งออกเป็น 3 ฤดู เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับมรสุมที่พัดผ่านประจำปี จัดอยู่ในประเภทภูมิอากาศแบบพื้นเมืองร้อนเฉพาะฤดู กล่าวคือจะมีฝนตกเฉพาะในฤดูฝน สลับกับช่วงแห้งแล้งในฤดูหนาวและฤดูร้อน

  • ฤดูร้อน อยู่ในระหว่างเดือน มีนาคมถึงเมษายน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34 – 36 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน อยู่ในระหว่างเดือน พฤษภาคมถึงตุลาคม และจะตกมากในเดือน สิงหาคม – กันยายน เนื่องจากอิทธิพลพายุดีเปรสชัน
  • ฤดูหนาว อยู่ในระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวมากในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 15 – 16 องศาเซลเซียส

ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบสะวันนาคือฤดูฝนสลับกับฤดูแล้งอย่างชัดเจน ปริมาณฝนที่ตกในจังหวัดหนองบัวลำภูโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงระหว่าง 978.3 – 1,348.9 มิลลิเมตรต่อปี อำเภอสุวรรณคูหา มีปริมาณฝนตกโดยเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ อำเภอนากลาง ส่วนพื้นที่ที่มีฝนตกน้อยที่สุด ได้แก่ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู ซึ่งมีปริมาณโดยเฉลี่ยประมาณ 978.3 มิลลิเมตรต่อปี

 

ทรัพยากรป่าไม้

โดยทั่วไปพื้นที่ป่าเป็นป่าเต็งรังสลับกับป่าเบญจพรรณ มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่ทางด้านเหนือ และด้านตะวันตก จำนวน 6 แห่ง พื้นที่ป่าสงวนส่วนใหญ่ถูกบุกรุกทำลาย หลังจากนั้นพื้นที่บางส่วนกลายเป็นพื้นที่เพาะปลูก และกำลังเป็นที่ทำกินของเกษตรกร บางส่วนกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม ปัจจุบันแบ่งเป็นป่าอนุรักษ์ประมาณ 312,500 ไร่ ป่าเศรษฐกิจ ประมาณ 1,039,000 ไร่ พื้นที่เหมาะสมแก่การเกษตร ประมาณ 170,000 ไร่ และพื้นที่ประกาศปฏิรูป ประมาณ 1,183,000 ไร่ พื้นที่ที่กำหนดเป็นเขตสงวน และอนุรักษ์ มีพื้นที่ประมาณ 312,000 ไร่ ได้แก่

  • ป่าอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ (ป่าภูเก้า) อยู่ทางด้านทิศใต้ของจังหวัดหนองบัวลำภู บริเวณอำเภอโนนสัง มีพื้นที่ประมาณ 103,000 ไร่
  • ป่าภูพาน อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของจังหวัดหนองบัวลำภู บริเวณอำเภอเมืองหนองบัวลำภู และอำเภอโนนสัง มีพื้นที่ประมาณ 16,000 ไร่
  • ป่าหนองบัว อยู่บริเวณอำเภอเมืองหนองบัวลำภู มีพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่
  • ป่าห้วยส้ม และ ป่าภูแดง อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดหนองบัวลำภู บริเวณอำเภอสุวรรณคูหา มีพื้นที่ประมาณ 138,000 ไร่
  • ป่าหนองเรือ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดหนองบัวลำภู บริเวณอำเภอนากลาง อำเภอเมืองหนองบัวลำภู และอำเภอศรีบุญเรือง มีพื้นที่ประมาณ 39,000 ไร่

 

ทรัพยากรน้ำ

แหล่งน้ำสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นมา

  • แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำลำคลอง ลำห้วย หนองน้ำ บึงและน้ำบาดาล ในเขตจังหวัดหนองบัวลำภูมีอยู่เป็นจำนวนมาก แหล่งน้ำที่เปรียบเหมือนเส้นเลือดใหญ่ที่สำคัญได้แก่
    • ลำพะเนียง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาสันปันน้ำของลุ่มแม่น้ำโขงกับลุ่มแม่น้ำชี ไหลผ่านอำเภอนากลาง อำเภอเมืองหนองบัวลำภู อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอโนนสัง แล้วไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์
    • ลำน้ำพอง มีต้นกำเนิดจากภูกระดึง และเทือกเขาสันปันน้ำ ของลุ่มแม่น้ำป่าสัก กับลุ่มน้ำชี ไหลผ่านเขตอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอโนนสัง แล้วไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ลำน้ำพองมีลำน้ำสาขาอยู่หลายสาย ที่ไหลผ่านเขตจังหวัดหนองบัวลำภู คือ ลำน้ำมอ ลำน้ำพวย ลำน้ำพอง ลำน้ำซำฐาน
    • ลำห้วยโมง ไหลมาจากสันเขาภูซางใหญ่ เขตติดต่ออำเภอนาด้วง จังหวัดเลย แล้วไหลผ่านอำเภอสุวรรณคูหา เข้าเขตอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขง
  • แหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน ในปี พ.ศ. 2539 6 มีอยู่รวม 68 โครงการ เป็นโครงการขนาดกลางอยู่เพียงโครงการเดียวคือ อ่างเก็บน้ำห้วยเหล่ายาง อยู่ที่บ้านภูพานทอง ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู มีความจุประมาณ 2.14 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 2,000 ไร่ โครงการที่เหลืออื่นๆ เป็นโครงการขนาดเล็ก มีความจุประมาณ 13.20 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 30,000 ไร่

 

ประชากร

กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภูมีชาติพันธุ์ต่างๆ มีดังนี้

  • กลุ่มไท – ลาว อพยพมาจากเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยมีกลุ่มพระวอ – พระตาเป็นเชื้อสายลาวเวียงจันทน์
  • กลุ่มไท – เขมร อพยพมาจาก บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ
  • กลุ่มไท – สยาม อพยพมาจากภาคกลางของประเทศไทย
  • กลุ่มคนจีนและคนญวน อพยพมาเพื่อประกอบอาชีพค้าขาย และได้มีการแต่งงานกับคนในท้องถิ่น เกิดเป็นเชื้อสายจีนและเชื้อสายญวน แต่ยังมีจำนวนน้อย

ประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภูสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. กลุ่มลาวพุงขาว (ล้านช้างเวียงจันทน์) กลุ่มชนนี้เป็นชนพื้นเมืองเดิมที่อาศัยอยู่บริเวณรอบนอกเมือง และเป็นกลุ่มใหญ่ของจังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีสัญลักษณ์การสักลายดำใต้สะเอวลงมาและมีกินหมาก ปัจจุบันกลุ่มชนพื้นเมืองดังกล่าวเป็นคนฟันขาวเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ห้ามประชาชนทั่วไปกินหมากและสักลายดำ
  2. กลุ่มคนจีน-ญวน ลักษณะเป็นคนผิวขาวเหลือง อพยพมาจากมณฑลกวางตุ้ง ยูนหนาน ในสมัยรัชการที่ 4 ที่มีพระราชดำริให้คนจีนกระจายอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ในภาคอีสาน และภายหลังได้ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภู
  3. กลุ่มคนไต กลุ่มชนนี้เป็นเผ่าไตหรือไท ซึ่งอพยพเข้ามาในเขตจังหวัดหนองบัวลำภูช่วงสงครามเดียนเบียนฟู (สงครามเวียดนาม – ฝรั่งเศส) ภายหลังสงครามสงบลงกลุ่มคนไตบางส่วนได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมและบางส่วนตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดหนองบัวลำภู

 

ลักษณะเฉพาะถิ่น

จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มั่งคั่งด้วยมรดกทางศิลปะและมรดกทางวัฒธรรมที่สั่งสมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เช่น การแต่งกายการปั่นหม้อดินเผา ภาษาประจำถิ่น

1. การแต่งกาย

ลักษณะการแต่งกายของชาวจังหวัดหนองบัวลำภูในอดีต

  • ผู้หญิงสวมเสื้อขาวเป็นพื้นเบี่ยงแพร ส่วนผ้าถุงจะเป็นผ้าไหมหมี่ขิด มีหัวซิ่นและตีนซิ่นที่ทอและหูกถึงสามหูก นำมาเย็บติดปะต่อกันเรียกว่า “สามทรวง” มีการทัดดอกไม้สำหรับหญิงสาวผู้เฒ่าผู้แก่แล้วแต่จะใส่อ้ม (ต้นอ้ม ใบมีกลิ่นหอม เมื่อนำใบมาเผาไฟพอลวก ๆ จะมีกลิ่นหอม) ไว้ทรงผมมวยสูงหรือดอกทุ่ม
  • ผู้ชายสวมเสื้อสีดำหรือสีหม้อนิล (สีครามทางเหนือเรียกหม้อฮ้อม) เป็นพื้น ใสผ้าโสร่งไหม มีกางเกงหัวรูดเป็นผ้าชั้นในหรือใส่นุ่งเล่นตามบ้านเรือนทั่วไป

ลักษณะการแต่งกายของชาวจังหวัดหนองบัวลำภูปัจจุบัน

  • ผู้หญิงวัยรุ่น แต่งกายตามสมัยนิยมใส่ เสื้อยืดหรือเสื้อเชิร์ตแขนสั้นและแขนยาว กระโปรงหรือกางเกงขาสั้นหรือขายาว หรือชุดแซก มีเครื่องประดับต่างๆ เช่น สร้อยคอ แหวน ต่างหู กำไลแขน ฯลฯ นิยมใส่รองเท้าหุ้มส้นเมื่อร่วมกิจกรรมนอกบ้าน ใส่รองเท้ามีส้นเมื่อร่วมกิจกรรมรื่นเริงและสังสรรค์
  • ผู้หญิงสูงวัย แต่งกายด้วยเสื้อลายปักต่างๆ ทั้งแขนสั้นและแขนยาว หรือเสื้อเชิร์ตแขนสั้นและแขนยาว ใส่ผ้าซิ่นลายต่างๆ ของท้องถิ่น หรือกางเกงขายาวพื้นสีดำทั้งขาสั้นและแขนยาว
  • ผู้ชายวัยรุ่น แต่งกายด้วยเสื้อยืดหรือเสื้อเชิร์ตแขนสั้นและแขนยาว ใส่กางเกงขาสั้นหรือขายาว กางเกงยืนหรือกางเกงสแล็ค
  • ผู้ชายสูงวัย แต่งกายด้วยเสื้อยืดหรือเสื้อเชิร์ตแขนสั้นและแขนยาว ใส่โสร่ง ผ้าขาวม้า ใส่กางเกงขาสั้นหรือขายาว กางเกงยืนหรือกางเกงสแล็ค

2. เครื่องปั้นดินเผา

เครื่องปั้นดินเผา คือ เอาดินเหนียวมาตีและปั้นเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันและนำไปใช้ในการประกอบพิธีกรรมด้วย จังหวัดหนองบัวลำภูมีมรดกทางวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ประมาณ 3,500 – 4,000 ปีล่วงมาแล้ว จากการขุดค้นโดยชาวบ้านก่อนพุทธศักราช 2514 กรมศิลปกรขุดค้นเพื่อการศึกษาในพุทธศักราช 2538 ที่ป่าพร้าว บ้านกุดคำเมย ตำบลกุดดู่ และบ้านโนนกล้วย (ดอนกลาง) บ้านกุดกวางสร้อย อำเภอโนนสัง ปัจจุบันการปั้นดินเผามีอยู่ที่บ้านโค้งสวรรค์ ตำบลโนนทัน อำเภอเมืองหนองบัวลำภู เครื่องปั้นดินเผาดังกล่าวจะทำเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าที่จะใช้ประกอบพิธีกรรม

 

ปัจจุบันจังหวัดหนองบัวลำภูแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ 59 ตำบล 636 หมู่บ้าน ดังนี้

อำเภอเมืองหนองบัวลำภู
อำเภอนากลาง
อำเภอโนนสัง
อำเภอศรีบุญเรือง
อำเภอสุวรรณคูหา
อำเภอนาวัง